top of page
Search

ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับสแตนเลส

  • Writer: Bhubadee Luangphiphatsorn
    Bhubadee Luangphiphatsorn
  • Jul 30, 2024
  • 1 min read

เมื่อพูดถึงวัสดุโลหะที่มีคุณสมบัติที่ดีทั้งในแง่ความทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและมีความสวยงาม หนึ่งในนั้นย่อมมีสแตนเลสสตีลอยู่ด้วยอย่างแน่นอน แต่ยังเชื่อว่าหลายท่านยังมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับสแตนเลสไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะพามาตีแผ่ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับสแตนเลสกัน


ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับสแตนเลส

สแตนเลส = ไม่ขึ้นสนิม (Rust-proof)

ข้อนี้เชื่อว่าหลายท่านยังมีความเข้าใจว่า " สแตนเลสไม่สามารถเป็นสนิมได้ " นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างยิ่ง


ตัวเนื้อสแตนเลสสามารถเกิดสนิมขึ้นได้ทุกชนิด แตกต่างกันที่ความสามารถในการทนต่อสภาวะแวดล้อม เช่น สแตนเลสที่เป็นกลุ่ม Austenitic จะสามารถทนต่อสภาวะที่เจอกับสารกัดกร่อนได้มากกว่าชนิดอื่น ตามที่ได้อธิบายไว้ที่โพสต์ " Austenitic Stainless Steel "


ทั้งนี้ถึงแม้จะต่อให้เป็นสแตนเลสชนิด Austenitic แน่นอนว่ายังเกิดสนิมได้ เช่น


  1. วัสดุสแตนเลสถูกใช้ผิดสภาวะที่มันสามารถทนได้ เช่น ใช้งานร่วมกับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงมาก (Harsh Chemical)

  2. การใช้งานที่ผิดวิธีจนส่งผลให้หน้าผิวของสแตนเลสเกิดความเสียหาย

  3. การไม่ทำความสะอาดอย่างถูกต้องหลังมีการใช้งาน รวมถึงการเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง



สแตนเลสก็คือสแตนเลส ไม่มีข้อแตกต่าง

ข้อนี้เป็นอีกข้อที่หลายท่านเข้าใจผิดอย่างยิ่ง โดยเมื่อไปเจอกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสแตนเลสจะเข้าใจว่า สแตนเลสนั้นเหมือนกัน มีคุณสมบัติเหมือนกัน และไม่มีสนิม


ในความเป็นจริงแล้วสแตนเลสมีหลากหลายชนิดมาก และแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันเหมาะสมกับกลุ่มการใช้งานที่คนละประเภท โดยจะแบ่งแบบง่ายได้ 3 ประเภท


  1. Austenitic Stainless Steel


คุณสมบัติเด่น


  • มีความทนทานต่อการกัดกร่อนที่ดีมาก (Excellent Corrosion Resistance)

  • สามารถนำไปขึ้นเป็นรูปทรงตามต้องการได้ง่าย (Good Formability)

  • มีความเหนียวและยืดหยุ่นในตัว ฉีกขาดได้ยาก (High toughness and Ductility)

  • ไม่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Non-Magnetic)




2. Ferritic Stainless Steel


คุณสมบัติที่โดดเด่น

  • มีคุณสมบัติในการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก

  • มีความสามารถทนต่อการกัดกร่อน

  • ขึ้นรูปทรงได้ง่าย




3. Martensitic Stainless Steel


คุณสมบัติเด่น

  • ทนต่อการกัดกร่อนได้ระดับหนึ่ง(สภาวะแวดล้อมทั่วไป)

  • มีความแข็งที่สูง

  • มีความสามารถในการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก




สแตนเลสสามารถใช้กับความร้อนได้ทุกรูปแบบ

เมื่อเราพูดถึงโลหะ แน่นอนว่าหลายท่านจะเข้าใจว่ามันสามารถถูกนำไปใช้กับความร้อนได้ เช่น การนำไปเผาผ่านความร้อนโดยตรง การนำไปใช้หุงต้ม


ในความจริงคือ ทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง แน่นอนว่าสแตนเลสสามารถนำไปใช้กับความร้อนได้สูง แต่ไม่ใช่กับความร้อนที่สูงมาก เช่น การเผาไฟโดยตรงโดยไม่มีตัวกลางอย่างน้ำหรืออาหาร


อีกทั้งสแตนเลสแต่ละชนิดก็มีความสามารถในการทนต่อความร้อนที่แตกต่างกัน ควรศึกษาชนิดของสแตนเลสก่อนนำไปใช้งาน และนำไปใช้ให้ถูกประเภทจะดีที่สุด


ข้อควรระวัง


  • ไม่ควรเผาสแตนเลสไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามด้วยไฟโดยตรงโดยปราศจากตัวกลาง (Heat carrier)

  • ไม่ควรเผาสแตนเลสไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามด้วยไฟโดยตรง และควรใช้ในลักษณะการเหนี่ยวนำความร้อน หรือ การใช้ Heat barriers ในการรับไฟแทนเนื้อสแตนเลสและส่งความร้อนให้ทางอ้อมแทน


 
 
 

Comments


SANTICHAI LOHAKIJ

Address : 111/10 เอกชัย6 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

Telephone :  02-415-1381




 

S_gainfriends_2dbarcodes_BW.png
bottom of page